สยามโมไทรันนัส อีสานเอนซิส (Siamotyrannus isanensis)
พบกระดูกเป็นครั้งแรกที่หลุมขุดค้นที่ 9 ที่ภูประตูตีหมา อุทยานแห่งชาติภูเวียง อำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น โดยนายสมชัย เตรียมวิชานนท์ นักธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี เมื่อปี พ.ศ. 2536
พบอยู่ในเนื้อหินทรายเนื้อแน่นหมวดหินเสาขัว ยุคครีเทเชียสตอนต้น ชิ้นส่วนกระดูกประกอบด้วยกระดูกสะโพก 1 ชิ้น กระดูกเชิงกรานด้านซ้าย ที่วางตัวฝังอยู่ใต้กระดูกสันหลัง
ลักษณะของกระดูกเปรียบเทียบได้กับของไดโนเสาร์ วงศ์ไทรันนอซอริดี ลักษณะไม่เคยมีรายงานการค้นพบจากที่ใดๆ ในโลกมาก่อน จึงพิจารณาให้เป็นสกุลและชนิดใหม่ คือ สยามโมไทรันนัส อีสานเอนซิส
ลักษณะของกระดูก พิจารณาได้ว่าเป็นของไดโนเสาร์วงศ์ไทรันโนซอร์ มีลักษณะเก่าแก่โบราณมากกว่าไดโนเสาร์ในวงศ์เดียวกัน ที่ค้นพบจากแหล่งอื่นๆ มากกว่าถึงประมาณ 20 ล้านปี
ทำให้สัณฐานได้ว่าไดโนเสาร์วงศ์นี้ อาจมีถิ่นกำเนิดและวิวัฒนาการขึ้นเป็นครั้งแรกในทวีปเอเชีย แล้วแพร่กระจายพันธุ์ออกไปจนถึงอเมริกาเหนือในช่วงปลายยุคครีเทเชียส
ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สิริสวัสดิ์จันทรวาร มานอวลบุษปคันธาทิพย์นะคะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น